วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

       บทความที่   3               ในธุรกิจโรงแรมซึ่งเห็นความสำคัญของแขกผู้เข้าพักเป็นอย่างมาก รวมถึงการสะกดชื่อแขกไม่ให้ผิด ดังนั้นการสื่อสารทางโทรศัพท์ของผู้ที่ทำงานในธุรกิจโรงแรมจึงใช้คำแทนตัวหนังสือ มีข้อกำหนดตกลงเป็นมาตรฐานทั่วโลกเรียกว่า Airline Code   โดยใช้คำแทนตัวหนังสือดังนี้



A = Able (เอเบิล)
B = Baker (เบเคอะ)
C = Charlie (ชาร์ลี)
D = Dog (ด๊อก)
E = Easy (อีซี่)
F = Fox (ฟ๊อกซ์)
G = George (จอร์จ)
H = How (ฮาว)
I = Item (ไอเท็ม)
J = Jimmy (จิมมี่)
K = King (คิง)
L = Love (เลิฟ)
M = Mike (ไม๊ค์)
N = Nancy (แนนซี่)
O = Oboe (โอโบ)
P = Peter (พีเทอะ)
Q = Queen (ควีน)
R = Roger (รอเจอร์)
S = Sugar (ชูเกอร์)
T = Tare (แทร์)
U = Uncle (อังเคิล) 
V = Victor (วิคเทอะ)
W = William (วิลเลียม)
X = X – ray (เอ็กซ์เรย์)
Y = Yolk (โย๊ค)
Z = Zebra (ซีบระ)


    บทความ        Hotel    code       เป็นวิธีที่สะกดคำหรือสะกดชื่อ ระบุชื่ออักษรทีละตัว โดยพ่วงเอาคำที่มีอักษรตัวนั้นปรากฏเป็นตัวแรก วิธีสะกดแบบนี้มีในการบินพลเรือนและการพูดโทรศัพท์ ที่นิยมใช้กันจนเป็นแบบแผนมาตรฐาน


  A - Alpha


·         B - Bravo


·         C - Charlie


·         D - Delta


·         E - Echo


·         F - Foxtrot


·         G - Golf


·         H - Hotel


·         I - India


·         J - Juliet


·         K - Kilo


·         L - Lima


·         M - Mike


·         N - November


·         O - Oscar


·         P - Papa


·         Q - Quebec


·         R - Romeo


·         S - Sierra


·         T - Tango


·         U - Uniform


·         V - Victor


·         W - Whiskey


·         X - X-ray


·         Y - Yankee


โครงสร้างการบริหารงานโรงแรม
HOTEL ORGANIZATION CHART
เพี่อเป็นการสร้างพื้นฐานความเข้าใจก่อนเริ่มต้นการเรียนรู้ขั้นตอนต่อไป  จึงขออธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของแผนผังการบริหารงานโรงแรม  และสายงานการบริหาร  ตามลำดับชั้นดังต่อไปนี้
 

1  คณะกรรมการบริหารโรงแรม    board  of   director

2   กรรมการผู้จัดการ      managing    director
     3   ผู้จัดการทั้วไป       general  manager4  รองผู้จัดการทั้วไป     resident  manger

5  ผู้ช่วยผู้จัดการทั่ไป    executive   assistant   manaer

6  ผู้จัดการแผนกบุคคล    personnel  manager

7  สมุห์บัญชี      chief   accourtant

8  ผู้จัดการฝ่ายอาหารละเครื่องดื่ม      food   beverage  manager

9  หัวหน้าพ่อครัว       executive   chef

10  ผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า   front  office   manager

11  หัวหน้าแผนกแม่บ้าน   executive   housekeeper

ตำแหน่ง Front Office Manager
ระดับ Department Head
ตำแหน่ง Front Office Manager เป็นตำแหน่งที่ดูแลใกล้ชิดกับลูกค้าที่มาพักโดยเฉพาะ เป็นด่านต้นๆ รองจากแผนก Concierge/Bell ที่ดูแลทางด้านหน้าประตู เป็นตำแหน่งในระดับหัวหน้าแผนก ทีทำหน้าที่ Check-in, Chekc-out ลูกค้าที่มาใช้บริการบนห้องพัก รวมทั้งให้ข้อมูลและรายละเอียดของโรงแรม

ตำแหน่ง Executive Housekeeper
ระดับ Executive Management
ตำแหน่ง Executive Housekeeper เป็นตำแหน่งที่ถูกเรียกว่า พ่อบ้าน (กรณีเป็นผู้ชาย) และ แม่บ้าน (กรณีเป็นผู้หญิง) มีหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการในเรื่องของความสะอาดทั้งโรงแรม ทั้งภายในห้องพัก ภายในโรงแรม ในส่วนออฟฟิค และบริเวณโดยรอบของโรงแรมเป็นหลัก รวมทั้งการตกแต่งสถานที่ในช่วงของวันสำคัญ หรือเทศกาลต่างๆ ทั่วไป อ้อ บางโรงแรมตำแหน่ง Executive Housekeeper ก็ดูแลในส่วนของแผนกซักรีดด้วย (Laundry Department)

ตำแหน่ง Cost Controller
ระดับ Department Head
ตำแหน่ง Cost Controller เป็นตำแหน่งหนึ่งทางด้านบัญชี ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดรายการต้นทุนในการบริหารงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) ซึ่งจะต้องมีการัดทำรายงานสรุปเป็นรายวัน เพื่อให้ทางแผนกครัว หรือ Kitchen ทราบว่า ขณะนี้มีต้นทุนในการผลิตอาหารมากน้อยเท่าไหร่แล้ว เพื่อให้ทางแผนกครัว สั่งประมาณวัตถุดิบให้พอเหมาะ ไม่ให้เกินตามปริมาณที่กำหนด ตัวอย่างเช่น ต้นทุนของอาหารทั่วไปอยู่ที่ 30% ต้นทุนอาหารจีนอยู่ที่ 35% - 38% เป็นต้น

ตำแหน่ง Purchasing Manager
ระดับ Department Head
ตำแหน่ง Purchasing Manager หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า ผู้จัดการแผนกจัดซื้อ ชื่อก็บอกแล้วว่า เป็นคนจัดซื้อ ซึ่งหมายถึง เป็นผู้จัดของสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ภายในสำนักงานหรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุดิบในการประกอบอาหาร แผนกจัดซื้อจะเป็นผู้ดแลให้ทั้งหมด การจัดซื้ออาหารสดส่วนใหญ่จะมีการประมูลราคา และยืนราคาเดียวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากมีการสั่งซื้อทุกวัน ทำให้เกิดความคล่องตัวในการสั่งซื้ออย่างมาก

โครงสร้างของโรงแรม
ลูกค้าหรือแขกที่เข้ามาใช้บริการของโรงแรมเป็นครั้งแรก อาจจะไม่เข้าใจการปฏิบัติงานประจำของโรงแรม และอาจจะสงสัยในความสอดคล้องกันของกิจกรรมต่างๆ ที่พนักงานโรงแรมปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการเปิดประตูต้อนรับแขก การลงทะเบียน การต้อนรับของพนักงานห้องอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มของพนักงานบริการในห้องอาหารของโรงแรม หรือการทำเตียงตลอดจนการทำความสะอาดห้องพักของพนักงานทำความสะอาดห้อง Room maid) ซึ่งดำเนิงานอย่างเป็นขั้นตอนและสอดประสานกันในทุกแผนกที่เกี่ยวข้องจนทำให้การปฏิบัติงานโดยรวมเป็นไปอย่างราบรื่น ส่งผลให้เกิดการบริการที่ประทับใจ

โรงแรมที่สามารถให้บริการกับแขกอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องมีพนักงานที่ได้รับการอบรมให้ปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี พนักงานทุกคนจะต้องเข้าใจและทำงานเพื่อให้โรงแรมบรรลุผลสำเร็จในการบริการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่แขก ซึ่งจะทำให้แขกปรารถนาจะกลับมาใช้บริการอีก หรือบอกเล่ากันต่อไปถึงการบริการที่ดีของโรงแรมเป็นการขยายผล การขายให้โรงแรมโดยโรงแรมไม่ต้องลงทุน

นอกเหนือจากการฝึกอบรมให้พนักงานเกิดทักษะในการทำงานแล้วความสำเร็จในการบริการของโรงแรมจำเป็นต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม พนักงานในโรงแรมทุกคนไม่ว่าจะทำงานอยูในแผนกใดต้องเรียนรู้การประสานงานกับพนักงานในแผนกเดียว เท่าๆ กับการประสานข้ามแผนกเพราะทุกแผนกในโรงแรมมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้นการกำหนดหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพนักงานและความสัมพันธ์ระหว่างแผนก ดังกล่าว เป็นกระบวนการ (Process) ของการกำหนดโครงสร้างของโรงแรม(Hotel Structure) ซึ่งหมายถึงการแบ่งแยกภารกิจ(Tasks) ของโรงแรมออกไปเป็นหน้าที่งานต่างๆ(Jobs) แล้วกำหนดให้มีแผนกหรือฝ่าย(Departments) กำกับดูแลหน้าที่แต่ละหน้าที่หรือหลายหน้าที่พร้อมทั้งมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่พนักงานที่ทำงานในแต่ละแผนก ตลอดจนอำนาจหน้าที่ในการประสานงานกับแผนกอื่น

ทุกแผนกในโรงแรมจะต้องทำงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโรงแรมเป็นหลักจึงทำให้กำหนดโครงสร้างของโรงแรม ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ในการกำหนดโครงการบริหารของโรงแรม(Hotel Structure) ฝ่ายบริหารจะต้องกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของหน้าที่(Job Specification) การควบคุมบังคับบัญชา และขอบเขตของการควบคุมงาน (Span of Control) ให้แก่บุคลากรในแต่ละแผนก เพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย

เมื่อได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่แผนกต่างๆ แล้วสิ่งที่จะต้องติดตามมาก็คือการกำหนดความสัมพันธ์ของงานในแต่ละแผนก ตลอดจนการกำหนดสายการบังคับบัญชา(Line of Command) ภายในแผนกด้วย เมื่อกำหนดเรียบร้อยแล้วจึงจะได้โครงสร้างการบริหารงานของแต่ละแผนก และเมื่อรวมทุกแผนกแล้วก็จะได้โครงสร้างของทั้งโรงแรม(Hotel Structure)

ลักษณะเฉพาะของโรงแรม(Hotel Characteristics)

เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานในการจัดโครงสร้างของการบริการโรงแรมจึงต้องทราบลักษระเฉพาะของสถานที่พักแรมหรือโรงแรม เพื่อที่จะสามารถจัดโครงสร้างได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะโรงแรมแต่ละแห่ง ลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ที่สำคัญของโรงแรม มีดังนี้

1. โรงแรมมีธุรกิจหลักที่สำคัญที่สุดคือ การให้เช่าห้องพักชั่วคราว

2. โรงแรมมีขนาด (Size) หรือจำนวนห้องพักแตกต่างกันอาจจะเริ่มต้นจากจำนวนห้องพักเพียง10 ห้อง จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันห้อง

3. โรงแรมมีหลายประเภทและแต่ละหลายประเภทจะมีลักษณะเฉพาะดังกล่าวแตกต่างกันออกไปและการบริการก็แตกต่างกันด้วย เช่น โรงแรมในเมือง นอกเมือง ใกล้สนามบิน รีสอร์ท หรือโมเดล เป็นต้น

4. โรงแรมมีสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกันทั้งประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกและความมากน้อยเพื่อสร้างความพึงพอใจหรือให้บริการแก่แขก โรงแรมบางแห่งให้บริการเฉพาะห้องพักไม่บริการอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรมบางแห่งให้บริการอาหารและเครื่องดื่มด้วย นอกจากนั้นโรงแรมจำนวนมากยังให้ความสะดวกสบายแก่แขกด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิงหลายรูปแบบ เช่น สระน้ำ สนามเทนนิส สนามกอล์ฟ ไนท์คลับ หรือคาราโอเกะ เป็นต้น

5. โรงแรมมีระดับของการบริการแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นบริการประเภทเดียวกัน ตัวอย่าง เช่น โรงแรมบางแห่งให้บริการอาหารบนห้องพัก (Room Service) 24 ชั่วโมง แต่ทางโรงแรมให้บริการงานห้องพักตั้งแต่ 7.00 น. จนถึงเพียง 22.00 น. เท่านั้น และบางโรงแรมไม่มีการบริการอาหารบนห้องพัก

จากลักษณะเฉพาะและความแตกต่างดังกล่าวแล้วจะเป็นผลให้การจัดองค์กร(Organization)ของโรงแรมแต่ละแห่งแตกต่างกันออกไป จนสามารถจะกล่าวได้ว่าโครงสร้างการบริการของโรงแรมไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละโรงแรมจะต้องจัดองค์กรให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัว ของแต่ละโรงแรมนอกจากนั้นแล้วโรงแรมที่มีที่แตกต่างกันก็จะมีโคางสร้างต่างกัน เช่น โรงแรมในเมืองจะมีโครงสร้างการบริหารแตกต่างจากประเภทรีสอร์ท เป็นต้น

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นโรงแรมประเภทใดหรือมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร โรงแรมก็จะต้องมีการจัดองค์กรให้เหมาะสมเพื่อจุดมุ่งหมายต่อไปนี้

1. เพื่อประสานกิจกรรมต่างๆ ของโรมแรมเข้าด้วยกันให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างราบรื่นทุกขั้นตอน เพื่อดึงดูดและบริการแขกให้แขกมีความพึงพอใจหรือประทับใจ

2. สร้างกำไรที่เหมาะสมกับการลงทุนของแต่ละโรงแรมกล่าวคือ เมื่อโรงแรมใดมีการลงทุนมากก็จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment : ROI) เพื่อให้สามารถคืนทุนในระยะเวลาที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว้ (Pay – back Period : PB) ดังนั้นการลงทุนจึงมีบทบาทกำหนดโครงสร้างของโรงแรมด้วย โรงแรมที่มีการลงทุนมากโครงสร้างจะแตกต่างจากโรงแรมที่มีการลงทุนน้อยแม้ว่าจะเป็นโรงแรมประเภทเดียวกัน

เมื่อได้มีการจัดองค์กรตามความเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัวของโรงแรมแล้วสิ่งที่ได้ก็คือโครงสร้างของโรงแรมซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารและสามารถแสดงได้ด้วยผังโครงสร้างการบริหารโรงแรม (Organization Chart) ซึ่งในผังของโรงแรมดังกล่าวนี้ เมื่อใครก็ตามได็เห็นก็สามารถระบุให้ลักษณะที่เด่นชัดของโรงแรมแต่ละรงแรมได้หลายประการดังนี้

1. โรงแรมมีกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น มีการบริการห้องพักเพียงประการเดียวหรือมีการบริการอาหารหรือบริการอื่นด้วย ที่สำคัญคือกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวได้มีการมอบหมายให้แผนกใดเป็นผู้รับผิดชอบ

2. โรงแรมมอบหมายให้พนักงานในตำแหน่งใดเป็นบริหารงานของแต่ละส่วนงาน

3. โรงแรมมีกำหนดให้มีการรายงานตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchy) อย่างไร หรือกล่าวโดยง่ายว่าในแต่ละกิจกรรมโรงแรมกำหนดให้ใครเป็นผู้บังคับบัญชา และใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา




วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

หมวดที่ 1   การจัดตั้งทุนและเงินสำรอง


มาตราที่  6   ให้จัดตั้งองค์การขึ้นเรียกว่า "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" เรียก โดยย่อว่า "ททท." และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "TOURISM AUTHORITY OF THAILAND" เรียกโดยย่อว่า "TAT" และให้มีตราเครื่องหมายของ "ททท." รูปลักษณะตราเครื่องหมายตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

มาตราที่  7     ให้ ททท. เป็นนิติบุคคล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และ จะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่การ ตั้งสำนักงานสาขาภายนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่ง นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

โรงแรมพัทยาปาร์ค

พัทยาปาร์ค หรือ โรงแรมพัทยาปาร์คบีช รีสอร์ท ตั้งอยู่ปลายหาดดงตาล ด้านเหนือของหาดจอมเทียน บริเวณเขาน้อย จังหวัดชลบุรี เป็นโรงแรมระดับ 3.5 ดาว ที่มีการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ประกอบไปด้วย โรงแรมที่พัก สวนสนุก สวนน้ำ และหอคอยพัทยาปาร์คสูง 55 ชั้น
สวนสนุก (Fun Park)
เป็นสวนสนุกที่มีเครื่องเล่นนานาชนิด เครื่องเล่นที่ให้ประสบการณ์ใหม่กับกิจกรรมท้าทายและตื่นเต้น ได้แก่
  • เทาเวอร์ ช็อต (Tower shot) เครื่องเล่นสุดหวาดเสียว แห่งแรกในประเทศไทย
  • รถไฟเหาะสลาลม (Slalom Roller Coaster) ผาดโผนไปกับรถไฟเหาะ
  • เรือเหาะไวกิ้งส์ (Vikings) ตื่นเต้นเร้าใจบนเรือไวกิ้งส์
และยังมีเครื่องเล่นสำหรับทุกคนในครอบครัว
  • แฟมิลี่สวิงเกอร์ (Family Swinger)
  • รถไฟฟ้าโมโนเรล (Monorail) นั่งชมวิวรอบๆ
  • รถซิ่งมหาสนุก (Demolition Derby)
  • ม้าหมุนดนตรี (Musical Carousel) นั่งสบายๆ ไปกับม้าหมุนดนตรี
  • แซมบ้าบอลลูน (Samba Tower)
สวนน้ำ (Water Park)
เป็นสวนน้ำที่มีสระน้ำวน และสไลเดอร์ขนาดยักษ์ เหมาะสำหรับครอบครัวให้ได้พักผ่อนกัน และสนุกสนานอย่างเต็มที่ หรือจะนอนอาบแดดอย่างเงียบสงบบนหาดส่วนตัวของรีสอร์ท
หอคอยพัทยาปาร์ค (Pattaya Park Tower)
หอคอยพัทยาปาร์คสูง 55 ชั้น หรือ 240 เมตร ชั้น 52 53 และ 54 เป็นห้องอาหารภัตตาคารหมุนได้ สามารถชมวิวระหว่างที่รับประทานอาหาร และชั้น 55 เป็นจุดชมวิวเมืองพัทยา
สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นนานาชนิด สระน้ำวน สไลเดอร์ขนาดยักษ์  หอคอยพัทยาปาร์คสูงที่สุดในภาคตะวันออก ชั้นบนมีภัตตาคารหมุน และจุดชมวิว
รับประทานอาหารกลางวันและอาหารค่ำแบบบุฟเฟต์นานาชาติในภัตตาคารที่อยู่บนหอคอยสูง พื้นที่ด้านในจะหมุนอย่างช้าๆ แบบพาโนรามาชมวิวทัศนียภาพของเมืองพัทยาได้รอบ 360 องศา  ตอนลงสามารถเลือกนั่งกระเช้า หรือโหนสลิงลงมาก็ได้ แต่ถ้ากลัวความสูงก็ลงลิฟท์เหมือนตอนขาขึ้นมา  นอกจากนี้ยังสามารถสนุกสนานกับเครื่องเล่นที่สวนสนุก และสวนน้ำ หรือจะนอนอาบแดดและเล่นน้ำที่หาดของรีสอร์ท



หลัก  4   P

1   PRODUCT    =  ผลิตภัณฑ์ การบริการ   มีสระน้ำวนและสไลเดอร์ขนาดยักษ์เหมาะสำรับครอบครัวให้ได้พักผ่อนกันและสนุกสนานอย่างเต็มที่หรือจะนอนอาบแดดอย่างเงียบสงบบนหาดส่วนตัวของรีสอร์ท

s =  strength   =  จุดแข็ง    ข้อดี    การบริการดีมีจุดน่าสนใจในสถานที่และสิ่วอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี
w=  weakness = จุดอ่อน   ข้อเสีย   การพูดจาแล้วการยิ้มแย้มแล้วมาราทของพนักงานต่างๆๆ

ผ้าคลุมโต๊ะหรือการจัดผ้า

ผ้าคลุมโต๊ะี้ ประโยชน์ของผ้าคลุมโต๊ะนั้นนอกจากจะช่วยสรรสร้างความสวยงามให้กับโต๊ะของเราแล้วนั้น ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่น และน่าสนใจของงาน หรือพิธีต่างๆ ที่เราจัดขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น งานเลี้ยง งานแต่งงาน พิธีการต่างๆ หรือโอกาสพิเศษอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดโต๊ะก็คือ "ผ้าคลุมโต๊ะ" ซึ่งการจัดผ้าคลุมโต๊ะนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ลวดลาย สีสัน ให้เลือก ขึ้นอยู่กับงานว่าเป็นงานประเภทไหน หรือขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้างานนั้นๆ
สำหรับผ้าคลุมโต๊ะนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ "ความสะอาด" ปราศจากจุดด่างดำหรือกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ การปูผ้าคลุมโต๊ะนั้น เพื่อความสวยงามควรปูให้เรียบปราศจากรอยยับ
มีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการปูผ้าคลุมโต๊ะซึ่งคุณอาจจะเผลอไผลมองข้ามไปก็ได้นั่นก็คือ "รอยพับ" ของผ้าคลุมโต๊ะนั่นเอง พยายามจัดรอยพับของผ้าให้คว่ำลง (^) ไม่ใช่หงายขึ้น (v) นอกจากนี้ถ้าใช้โต๊ะหลายตัว รอยพับควรจะอยู่ในแนวเดียวกันด้วย

การจับจีบผ้าและผูกผ้า

การจับจีบผูกผ้า

 
การจัดงานในโอกาสต่างๆ นิยมใช้ผ้าเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดตกแต่งสถานที่ให้ ดูสวยงามขึ้น โดยการผูกผ้าและจับจีบผ้าให้เป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สถานที่จัดงานมีความโดดเด่นสวยงามมากขึ้น ผู้เขียนจึงได้จัดทำเอกสาร เพื่อแสดงให้ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงเทคนิคการผูกผ้าและจับจีบผ้าตามหลักวิชา จากประสบการณ์ที่ได้รับการฝึกอบรมนำมาปฏิบัติในการจัดตกแต่งสถานที่ในโอกาสต่างๆ โดยได้รับมอบหมายให้จัดตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้า เป็นเวลานานกว่า 10 ปี
เว็ปนี้จัดทำขึ้นสำหรับครู อาจารย์ ผู้สอนวิชาชีพ ตลอดจนสถานประกอบการและชุมชน สามารถนำความรู้และทักษะในการนำผ้าไปผูกและจับจีบให้สวยงาม ทำให้เกิดการประกอบอาชีพการรับบริการจัดตกแต่งสถานซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง